Typica พระนางผู้อ่อนโยน
แน่นอนค่ะ 2 สายพันธุ์หลักของกาแฟ คืออาราบิก้าและโรบัสต้า ประมาณ 70% ของกาแฟที่ซื้อขายสำหรับร้านกาแฟคืออาราบิก้า ประเทศไทยเริ่มปลูกกาแฟสายพันธุ์นี้เมื่อ UNDP เริ่มนำเข้ามาทดสอบในสถานีวิจัย ประมาณ 40 ปีที่ผ่านมานี่เอง ในโลกนี้เรารู้จักและบริโภคกาแฟอาราบิก้ามีถิ่นเนิดในประเทศเอธิโอเปีย มากว่า 1000 ปีแล้ว นักพฤกษศาสตร์ Carolus Linnaeus เป็นคนตั้งชื่อให้กับกาแฟชนิดนี้ เชื่อว่าการเพาะปลูกครั้งแรกที่เยเมนเกิดขึ้นในราวปี 1700
ในโลกนี้มีกาแฟอาราบิก้า มากกว่า 30 สายพันธุ์ เรารู้ว่าแต่ละชนิดพันธุ์มีรายละเอียดรสชาติเป็นบุคลิกของตัวเอง ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือสายพันธุ์ Typica นอกจากนั้น เราจะได้ยินชื่อ Java, ภูเขาบลูบูร์บอง Yirgacheffe และ Caturra บางส่วนของสายพันธุ์เหล่านี้มีวิวัฒนาการมาจาก Typica ด้วยความที่ลูกหลานมีโปรไฟล์รสชาติใหม่ จึงทำให้พวกเขาได้รับชื่อเฉพาะของวาไรตี้
Typica เป็นสายพันธุ์ที่มีรสชาติดีเป็นที่ยอมรับ
แต่ขณะเดียวกันเหมือนราชนิกูล สาวสวยสูงศักดิ์สง่างาม แต่อมโรค มีลูกยาก
ต้นกาแฟมีผลผลิตต่ำ ไม่ต้านทานโรค และเลือกที่อยู่อาศัย ชอบอากาศเย็น
และไม่ชอบแดดจัด อ่อนแอ ต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แต่ทุกคนก็หลงรักเธอ .....โอ้!!! พระนาง
การปลูกอย่างแพร่หลายเกิดขึ้นในสมัยยุคล่าอาณานิคม เมื่อชาวดัชซ์นำ
Typica ถึงยัง Malabar, India
จนถึง Indonesia ส่วนชาวฝรั่งเศสนำไปเผยแพร่ยังแถบทะเลแคริปเบียนตะวันตกจนถึงเกาะ
Martinique
กาลเวลาผ่านไป เราพบว่าเจ้าลูกของ Typica จึงมีวิวัฒนาการนำไปสู่บุคคลิกใหม่
ลูกหลานที่ปลูกยังที่ต่างๆมีหน้าตารสชาติไม่เหมือนพ่อของตัวเอง
จนได้มีชื่อเป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ เช่น Criollo (South America), Arabigo
(Americas), Kona (Hawaii), Pluma Hidalgo (Mexico), Garundang (Sumatra), Blue
Mountain (Jamaica, Papua New Guinea), San Bernado & San Ramon (Brazil),
Kents & Chickumalgu (India)
เช่นเดียวกันนักพฤษศาสตร์ก็ค้นพบว่า ลูกหลานอีกสายหนึ่งของเจ้า Typica
เกิดการกลายพันธุ์ไปอย่างสิ้นเชิง
โดยเฉพาะในอเมริกากลาง และได้รับชื่อใหม่ๆ ได้แก่ Villa Lobos, San Ramon,
Pache
ตามกฏของวัฒนาการเราจึงได้เห็นลูกหลานแข็งแรงและต่อสู้กับโรคภัย
แมลงศัตรูต่างๆ ......โลกกาแฟสายพันธุ์ใหม่ในปี
2000 อนาคต ลูกหลานเราคงได้เห็นต้นกาแฟทนร้อนปรับตัวสภาพของโลก
green house ส่วนเราคงกลับไปยังต้นกำเนิดแล้วละค่ะ
ขอให้โชคดีมีสุข Slurp!
Poonzka
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก คุณลุง Jean Nocolas Wintgens และ คุณป้า Wiki
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น